วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ปล่อยแสง ;;; TCDC


เจ้าของผลงาน Mintra Wongbanchai

ภาพถ่ายเชิงศิลป์ เรื่อง สภาวะบีบบังคับ
Fine art Photogarphy // visible wall
แรงบันดาลใจ inspiration
"จากความรู้สึกส่วนตัวของตัวข้าพเจ้าเอง ที่มีต่อสังคมรอบกาย ไม่ว่าสังคมจะเป็นสังคมที่ดี หรือ ไม่ดีก็ตาม ตัวตนและจิตใจของข้าพเจ้าเองก็ยังมีสภาวะหรือรู้สึกอัดอัดต่อสังคมภายนอกนั้นๆ หรือตัวข้าพเจ้าเองสร้างกรอบกั้นตัวเเองไว้ ไม่ยอมกล้าที่จะเปิดใจ พบกับสังคมภายนอก ทำให้บางครั้งข้าพเจ้าสามารถเรียนรู้ หรือได้ สัมผัส สภาพแวดล้อมนั้นได้จริง เพียงแต่ข้าพเจ้าไม่เปิดใจยอมรับมัน"

“เป็นผลงานที่มองสังคม ที่คิดว่ามันใช่อย่างที่เขาได้บอก คือ มีความอึดอัดต่อสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ถ้าเราเปิดใจ ยอมรับกับมัน เราก็จะไม่ต้องอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมเล็กๆ ซึ่งเขาก็สื่อภาพมุมมองของภาพโฟโต้ได้ดี” อภิดล เขียนเจริญ







ชื่อผลงาน : Anaconda
ผลงานชิ้นนี้ได้แรงบรรดาลใจจากธรรมชาติ สิ่งปลูกสร้าง และความรู้สึก นำมารวมไว้ด้วยกันให้เป็นหนึ่งเดียว
เจ้าของผลงาน
มินตรา วงศ์บรรใจ

สถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

“ เขาได้นำของที่อยู่รอบๆตัว มาสร้างงานออกแบบ เกิดเป็นผลงานที่แปลกใหม่ รูปแบบแปลกตา เป็นเอกลักษณ์อยู่ในตัวเอง และสามารถนำไปเป็นของตกแต่งได้ ”
อภิดล เขียนเจริญ





ชื่อผลงาน POST ROCK A DOCUMENTARY FILM
เจ้าของผลงาน
พงศ์ภัทร เผือกวัฒนะ
ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

“ เขาได้สื่อสารได้ดี เกี่ยวกับดนตรี post rock ผ่านสารคดี ซึ่งได้ดูแล้วก็คิดว่า เขามีความตั้งใจจริง เขาสนใจจริงกับแนวดนตรีนี้ ซึ่งแสดงว่า ถ้าเราคิดจะทำอะไร ก็ต้องเริ่มต้นที่ว่า เราต้องชอบ เราต้องรักกับสิ่งนั้นก่อน มันถึงจะมีผลงานออกมาดี ” อภิดล เขียนเจริญ

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

HOME





โลก คือ บ้าน ....
จิตใต้สำนึกของมนุษย์ต้องนึกถึงคำๆ นี้เสมอ
สารคดีเรื่องนี้...ทำให้เราฉุดคิดว่า ที่ผ่านมาเราทำลายบ้าน (โลก) ขนาดไหน และตอนนี้เรากำลังทำอะไรให้กับบ้าน (โลก) ของเราหรือยัง เพราะในอีกไม่ช้า เรากำลังจะไม่มีบ้านอยู่ !!!

เนื้อหาของสารคดีเรื่อง HOME เป็นสารคดีที่ถ่ายทอดเรื่องราวที่ผ่านมาของมนุษย์ที่ทำร้ายโลก โดยมีข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ เช่น


20% ของประชากรโลกถลุงทรัพยากรของดาวดวงนี้ไปถึง 80%จากรายงานฉบับที่ 4 ของโครงการ GEO ในแผนงานสหประชาชาติเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม (UNEP) ปี 2007


แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกบางลงถึง 40% ในระยะเวลา 40 ปีจากศูนย์ข้อมูลน้ำแข็งและหิมะแห่งชาติ (NSIDC) ปี 2004

ทุกๆ ปี พื้นที่ป่าสูญหายไป 13 ล้านเฮกตาร์จากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ปี 2005

มุมมองส่วนใหญ่ของหนังสารคดีเรื่องนี้ จะเป็นมุมมองลักษณะมุมสูง มองเห็นโดยภาพกว้าง โดยเป็นการถ่ายทำบนเฮลิคอปเตอร์เป็นหลัก และถ่ายทำไปยังหลายๆประเทศ ทุกทวีป จึงทำให้สารคดีมีความครอบคลุม ดั่งเช่นชื่อ เรื่อง

การดำเนินเรื่อง ก็เป็นลักษณะฟุตเทจที่แปลกตามาก เป็นสิ่งที่ธรรมชาติได้สร้างขึ้น และถูกทำลายด้วยมนุษย์ ที่เราไม่เคยได้ดูกัน บางช็อตบางภาพก็ทำให้เราอึ้งไป ว่าโลกเรานี้ มีภาพอย่างนี้ด้วยหรอ บางภาพก็ทำให้เราประทับใจ ว่าโลกเราก็มีความสวยงามมากในมุมองที่เราไม่เคยได้เห็นกัน

ทุกๆภาพได้บอกเรื่องราวเฉพาะของมันในตัวเอง

จึงทำให้หนังสารคดีเรื่อง HOME มีความสนใจ มีความน่าตื้นเต้นในภาพของมันเองโดยไม่ได้มีการตกแต่งใดๆ และยังเป็นการที่ทำให้เราฉุดคิดได้ว่า เราสมควรแล้วที่ จะร่วมปกป้องและรักษาบ้านหลังสุดท้ายและท้ายสุด นั่นคือ “โลก” ของเรา








Keywords
  1. ป่า คือ พ่อและแม่ของสายฝน คือ หลักกิโลของโลก และกักเก็บคาร์บอน
  2. เขื่อน เป็นสิ่งที่กักเก็บน้ำได้ดี และสามารถทำเป็นทะเลสาบเทียมได้
  3. ป่าชุ่มน้ำ มีความสำคัญมาก, 6%ของโลก เพราะในบริเวณนั้น จะมีหนองน้ำ เพื่อเป็นการกลั่นกรองและฟื้นฟูสายน้ำ
  4. นากุ้ง เป็นการทำลายระบบนิเวศน์ เนื่องจากต้องไปทำนากุ้งในบริเวณป่าชายเลน (ป่าโครงการ)
  5. น้ำ, อากาศ, ดิน, ต้นไม้ มีความเกี่ยวข้องกันซึ่งกันและกัน
  6. น้ำมันปาล์ม, ยูคาลิปตัส เป็นพลังงานทดแทน และเป็นการทำลายระบบของนิเวศน์ ซึ่งการปลูกนี้เรียกว่าการปลูกพืชเชิงเหนี่ยว, การปลูกพืชเชิงเหนี่ยว ไม่ใช่การปลูกป่า!!!
  7. ไนจีเรีย 70% ของประเทศ ยากจนมาก ทั้งๆที่เป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก, จึงเกิดปัญหาช่องว่างของคนจนกับคนรวย เพิ่มมากขึ้น
  8. คาร์บอน คือสิ่งที่จะทำให้บรรยากาศเป็นเตาอบ
  9. ระบบนิเวศน์ เป็นสิ่งไร้พรมแดน, ถึงแม้ว่าทวีปหนึ่งจะไม่เคยทำลายธรรมชาติเลย แต่ระบบนิเวศน์จะไปเกี่ยวข้องกับทวีปนั้น ไม่ว่าจะเป็นผลดีหรือผลเสีย (แต่ส่วน ใหญ่จะผลเสียซะมากกว่า)
  10. พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด, หยุดเจาะโลก และหันมองขึ้นไปบนฟ้า



    +



“จะเป็นผู้บริโภคที่ดี ที่นึกถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และโลก"

.


วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ASUS Bamboo Notebook

บริษัท อัสซุสเทค คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก พีดีเอ โฟนและอีอีอี พีซี ขอนำเสนอโน๊ตบุ๊กอินเทรนด์อิงกระแสลดโลกร้อน “โน้ตบุ๊กไม้ไผ่” (ASUS Bamboo Notebook) เป็นครั้งแรกของโลกที่ผลิตโน้ตบุ๊กจากไม้ไผ่ ผสมผสานความสวยงามและความประณีตของงานประดิษฐ์จากไม้ไผ่ รุ่น U6 ขนาดหน้าจอ 12 นิ้ว น้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม ราคา 79,900 บาท (ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) มาพร้อม Intel® Core™2 Duo Processors และ DDRII RAM ซึ่งช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานของแบตเตอรี่ได้ 35 – 70 เปอร์เซ็นต์ ระบบ Super Hybrid Engine (SHE) ระบบประหยัดพลังงานโดยผสมผสานระหว่างซอฟแวร์และฮาร์ตแวร์ของอัสซุส นอกจากนั้น SHE เป็นระบบที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 12.30 กิโลกรัมต่อปีต่อโน้ตบุ๊กไม้ไผ่หนึ่งตัว พบกับโน้ตบุ๊กไม้ไผ่ได้ปลายเดือนธันวาคมนี้ ตามร้านตัวแทนจำหน่ายอัสซุสทั่วไป

Green Design



แนวคิดของผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต

ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต คือสถาปนิกหนุ่ม, ผู้ออกแบบอาคาร รวมทั้งเป็นอาจารย์สอนด้านนวัตกรรมการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่เพียงสอนเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น ยังสอนที่ต่างประเทศด้วย เขาได้ชื่อว่าเป็นนักออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

แต่ก็มีหลาย ๆ คนเหมือนกันที่มอบฉายาแสนติดดินให้ อ.สิงห์ว่า “นักเก็บขยะ” ที่สร้างสรรค์เศษของเหลือใช้ประเภทต่าง ๆ ให้กลายเป็นของมีค่า จนได้รับรางวัลระดับโลกมาแล้วมากมาย ล่าสุดเขาคือ Designer of the Year 2007 ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเต็มใจเชิดชูเกียรติด้วย

ที่อ.สิงห์ได้รับฉายานี้เพราะเขาจะไปเก็บเศษไม้จากโรงงานมาเป็นกระบุง ๆ เพื่อนำมาสร้างสรรค์เป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเอกที่มีราคามากกว่าต้นทุนหลายสิบ หลายร้อยเท่า นอกจากจะได้เฟอร์นิเจอร์ไอเดียเจ๋งแล้ว ยังเป็นการลดปริมาณขยะจากเศษไม้ได้ด้วย จัดได้ว่าเป็นเฟอร์นิเจอร์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

เฟอร์นิเจอร์แบบ “Green Design” ของอ.สิงห์ผลิตขึ้นภายใต้แบรนด์ที่เขาก่อกำเนิดขึ้นมาเอง นั่นก็คือ “OSISU” ซึ่งเป็นภาษาฟินแลนด์ มาจากคำว่า “Sisu” ซึ่งสถาปนิกชื่อดังผู้สร้าง Opera House ที่ออสเตรเลีย ใช้เตือนตัวเองว่าต้องทำให้ดีที่สุด...มากกว่าที่ตนเองคิดว่าจะทำได้ OSISU จึงหมายถึง “โอ้! เป็นไปได้ไง” ยังไงล่ะ

แนวคิดบ้านในอีก 5 ปีข้างหน้าของอ.สิงห์ก็คือ “ผมว่าคนไทยจะเริ่มกังวลมากขึ้นกับเรื่องความเป็นอยู่ จะไปทิศทางเดียวกันไหม ผมไม่แน่ใจ แต่ผมว่าคงคล้าย ๆ กัน ไม่ต่างกัน ผมมองว่าคนไทยคงไม่ย้อนกลับไปอยู่กันแบบไทยเดิม ถ้าจะมีก็เรื่องสีสันที่คนไทยมีมาแต่อดีตแล้ว”


สีสันที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมาแต่อดีตสังเกตได้จากสีสันของโบสถ์หรือวัด รวมทั้งสีสันฉูดฉาดที่แสดงออกผ่านงานศิลปะต่าง ๆ รวมทั้งงานพาณิชย์ศิลป์ด้วย นอกจากนี้ อ.สิงห์ยังมองว่าคนไทยมีความชื่นชอบอิเลกโทรนิก รวมทั้งองค์ประกอบที่ดูตื่นเต้นไม่น้อยไปกว่ากัน

อย่างไรก็ตาม บ้านในอีก 5 ปีข้างหน้าในความคิดของอ.สิงห์จะยังคงมีโครงสร้างไม่ต่างจากปัจจุบัน เพียงแต่มีรายละเอียดที่แปรเปลี่ยนไปเท่านั้นเอง “ผมมองว่าลักษณะตัวบ้าน โครงสร้างคงไม่เปลี่ยนอะไรมาก แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในบ้านภายใน 5 ปีนี้คือความสนใจกับการอยู่เย็นเป็นสุข, สุขภาพและพลังงาน” อ.สิงห์ขยายความ

ด้วยความที่ทำงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมาตลอด อ.หนุ่มจึงมองว่าแนวทางของเฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งบ้านในอนาคตจะเป็นวัสดุ Recycle เพราะคนเอาใจใส่กับสภาพแวดล้อมมากขึ้น ดังเช่นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหลักที่ประกอบขึ้นมาจากเศษไม้เล็ก ๆ แต่ดีไซน์งดงามและใช้สอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ในสายตาผม ผมมองว่าที่อยู่อาศัยใน 5 ปีข้างหน้า น่าจะมีการผสมผสานระหว่างพันธุ์ไม้ ต้นไม้กับตัวอาคารมากขึ้น อยู่ใกล้กับธรรมชาติมากขึ้น ใช้พื้นที่ที่คุ้มมากขึ้น มีการทับซ้อนของการใช้สถานที่ต่าง ๆ ภายในที่ของตัวเองมากขึ้น” อ.สิงห์ให้รายละเอียด

ห้องตัวอย่างที่นักออกแบบหนุ่มแนว “Green Design” จัดออกมาจะเห็นได้ว่าเป็นพื้นที่ใช้สอยที่สามารถใช้งานได้หลายฟังก์ชัน ตั้งแต่การพักผ่อน (เตียงใหญ่ริมหน้าต่าง) ทำงาน (โต๊ะไม้ Recycle ริมหน้าต่าง) รับประทานอาหาร (โต๊ะใหญ่ทำจากไม้ Recycle สุดโดดเด่น)


“ผมมองว่าถ้าเป็นไปได้ จะมีการผสมผสานระหว่างธรรมชาติกับการเป็นอยู่มากขึ้น ผมมองในส่วนของห้องครัวที่สามารถปลูกสวนเล็ก ๆ แต่เป็นสวนที่ใช้ได้ เช่นปลูกพริก สาระแหน่ ต้นหอม กระเพราต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อใช้ สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาผสมและตกแต่งห้องครัวได้ด้วย” อ.สิงห์ยกตัวอย่าง


“การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ” อีกอย่างหนึ่งคือการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ประกอบขึ้นจากเศษไม้ซึ่งถือเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า โดยเมื่อใส่ “ดีไซน์” ลงไปแล้ว เฟอร์นิเจอร์จากเศษไม้ก็ออกมางดงามไม่เบา ไม่ว่าจะเป็นตัวเล็กริมหน้าต่างหรือตัวใหญ่ ณ กลางห้องก็ตาม

“ผมเอาวัสดุที่หาได้ในประเทศไทยมาใช้ เอาของที่หาง่าย ๆ ของที่ดูแล้วไร้ค่า ถ้าผ่านการออกแบบ คนทั่วไปเห็นจะเกิดแรงบันดาลใจว่า เออ เราก็ทำได้ ผมอยากให้เห็นว่าของเหล่านี้ไม่ได้หรูหราอะไร แต่ทำให้ดูดีได้ ในการจัดวางหรือเมื่อผ่านกระบวนการออกแบบแล้ว” อ.สิงห์สรุป


แนวคิดของผศ.ดร.สิงห์ ดูเปี่ยมไปด้วย “อุดมการณ์” และ "ความมุ่งมั่น" ต้องการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณขยะของโลก บางทีเมื่อถึง 5 ปีข้างหน้าจริง ๆ เราอาจจะไม่มีพื้นที่สำหรับเก็บขยะเหลือใช้เหล่านี้ก็ได้ เพราะฉะนั้นการนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดคือการตอบสนองที่ดีที่สุดนั่นเอง

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

COTTON USA T-SHIRT DESIGN CONTEST




concept
บ่งบอกภายใต้คำว่า love cotton, love the world เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนหันมาใช้เสื้อผ้าด้วยเส้นใยฝ้ายธรรมชาติ โดยการนำหมีแพนด้ามาใช้กับงาน เนื่องจากหมีแพนด้ามีความใกล้ชิดกับธรรมชาติและกำลังได้รับความสนใจในช่วงนี้



concept
สื่อถึงการมีทัศนคติที่ดีในการใช้เส้นใยฝ้ายธรรมชาติ โดยการนำหมีแพนด้ามาบอกอารมณ์,ความรู้สึกต่อการใช้เส้นใยธรรมชาติ