แนวคิดของผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต
ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต คือสถาปนิกหนุ่ม, ผู้ออกแบบอาคาร รวมทั้งเป็นอาจารย์สอนด้านนวัตกรรมการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่เพียงสอนเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น ยังสอนที่ต่างประเทศด้วย เขาได้ชื่อว่าเป็นนักออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
แต่ก็มีหลาย ๆ คนเหมือนกันที่มอบฉายาแสนติดดินให้ อ.สิงห์ว่า “นักเก็บขยะ” ที่สร้างสรรค์เศษของเหลือใช้ประเภทต่าง ๆ ให้กลายเป็นของมีค่า จนได้รับรางวัลระดับโลกมาแล้วมากมาย ล่าสุดเขาคือ Designer of the Year 2007 ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเต็มใจเชิดชูเกียรติด้วย
ที่อ.สิงห์ได้รับฉายานี้เพราะเขาจะไปเก็บเศษไม้จากโรงงานมาเป็นกระบุง ๆ เพื่อนำมาสร้างสรรค์เป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเอกที่มีราคามากกว่าต้นทุนหลายสิบ หลายร้อยเท่า นอกจากจะได้เฟอร์นิเจอร์ไอเดียเจ๋งแล้ว ยังเป็นการลดปริมาณขยะจากเศษไม้ได้ด้วย จัดได้ว่าเป็นเฟอร์นิเจอร์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
เฟอร์นิเจอร์แบบ “Green Design” ของอ.สิงห์ผลิตขึ้นภายใต้แบรนด์ที่เขาก่อกำเนิดขึ้นมาเอง นั่นก็คือ “OSISU” ซึ่งเป็นภาษาฟินแลนด์ มาจากคำว่า “Sisu” ซึ่งสถาปนิกชื่อดังผู้สร้าง Opera House ที่ออสเตรเลีย ใช้เตือนตัวเองว่าต้องทำให้ดีที่สุด...มากกว่าที่ตนเองคิดว่าจะทำได้ OSISU จึงหมายถึง “โอ้! เป็นไปได้ไง” ยังไงล่ะ
แนวคิดบ้านในอีก 5 ปีข้างหน้าของอ.สิงห์ก็คือ “ผมว่าคนไทยจะเริ่มกังวลมากขึ้นกับเรื่องความเป็นอยู่ จะไปทิศทางเดียวกันไหม ผมไม่แน่ใจ แต่ผมว่าคงคล้าย ๆ กัน ไม่ต่างกัน ผมมองว่าคนไทยคงไม่ย้อนกลับไปอยู่กันแบบไทยเดิม ถ้าจะมีก็เรื่องสีสันที่คนไทยมีมาแต่อดีตแล้ว”
ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต คือสถาปนิกหนุ่ม, ผู้ออกแบบอาคาร รวมทั้งเป็นอาจารย์สอนด้านนวัตกรรมการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่เพียงสอนเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น ยังสอนที่ต่างประเทศด้วย เขาได้ชื่อว่าเป็นนักออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
แต่ก็มีหลาย ๆ คนเหมือนกันที่มอบฉายาแสนติดดินให้ อ.สิงห์ว่า “นักเก็บขยะ” ที่สร้างสรรค์เศษของเหลือใช้ประเภทต่าง ๆ ให้กลายเป็นของมีค่า จนได้รับรางวัลระดับโลกมาแล้วมากมาย ล่าสุดเขาคือ Designer of the Year 2007 ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเต็มใจเชิดชูเกียรติด้วย
ที่อ.สิงห์ได้รับฉายานี้เพราะเขาจะไปเก็บเศษไม้จากโรงงานมาเป็นกระบุง ๆ เพื่อนำมาสร้างสรรค์เป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเอกที่มีราคามากกว่าต้นทุนหลายสิบ หลายร้อยเท่า นอกจากจะได้เฟอร์นิเจอร์ไอเดียเจ๋งแล้ว ยังเป็นการลดปริมาณขยะจากเศษไม้ได้ด้วย จัดได้ว่าเป็นเฟอร์นิเจอร์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
เฟอร์นิเจอร์แบบ “Green Design” ของอ.สิงห์ผลิตขึ้นภายใต้แบรนด์ที่เขาก่อกำเนิดขึ้นมาเอง นั่นก็คือ “OSISU” ซึ่งเป็นภาษาฟินแลนด์ มาจากคำว่า “Sisu” ซึ่งสถาปนิกชื่อดังผู้สร้าง Opera House ที่ออสเตรเลีย ใช้เตือนตัวเองว่าต้องทำให้ดีที่สุด...มากกว่าที่ตนเองคิดว่าจะทำได้ OSISU จึงหมายถึง “โอ้! เป็นไปได้ไง” ยังไงล่ะ
แนวคิดบ้านในอีก 5 ปีข้างหน้าของอ.สิงห์ก็คือ “ผมว่าคนไทยจะเริ่มกังวลมากขึ้นกับเรื่องความเป็นอยู่ จะไปทิศทางเดียวกันไหม ผมไม่แน่ใจ แต่ผมว่าคงคล้าย ๆ กัน ไม่ต่างกัน ผมมองว่าคนไทยคงไม่ย้อนกลับไปอยู่กันแบบไทยเดิม ถ้าจะมีก็เรื่องสีสันที่คนไทยมีมาแต่อดีตแล้ว”
สีสันที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมาแต่อดีตสังเกตได้จากสีสันของโบสถ์หรือวัด รวมทั้งสีสันฉูดฉาดที่แสดงออกผ่านงานศิลปะต่าง ๆ รวมทั้งงานพาณิชย์ศิลป์ด้วย นอกจากนี้ อ.สิงห์ยังมองว่าคนไทยมีความชื่นชอบอิเลกโทรนิก รวมทั้งองค์ประกอบที่ดูตื่นเต้นไม่น้อยไปกว่ากัน
อย่างไรก็ตาม บ้านในอีก 5 ปีข้างหน้าในความคิดของอ.สิงห์จะยังคงมีโครงสร้างไม่ต่างจากปัจจุบัน เพียงแต่มีรายละเอียดที่แปรเปลี่ยนไปเท่านั้นเอง “ผมมองว่าลักษณะตัวบ้าน โครงสร้างคงไม่เปลี่ยนอะไรมาก แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในบ้านภายใน 5 ปีนี้คือความสนใจกับการอยู่เย็นเป็นสุข, สุขภาพและพลังงาน” อ.สิงห์ขยายความ
ด้วยความที่ทำงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมาตลอด อ.หนุ่มจึงมองว่าแนวทางของเฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งบ้านในอนาคตจะเป็นวัสดุ Recycle เพราะคนเอาใจใส่กับสภาพแวดล้อมมากขึ้น ดังเช่นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหลักที่ประกอบขึ้นมาจากเศษไม้เล็ก ๆ แต่ดีไซน์งดงามและใช้สอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ในสายตาผม ผมมองว่าที่อยู่อาศัยใน 5 ปีข้างหน้า น่าจะมีการผสมผสานระหว่างพันธุ์ไม้ ต้นไม้กับตัวอาคารมากขึ้น อยู่ใกล้กับธรรมชาติมากขึ้น ใช้พื้นที่ที่คุ้มมากขึ้น มีการทับซ้อนของการใช้สถานที่ต่าง ๆ ภายในที่ของตัวเองมากขึ้น” อ.สิงห์ให้รายละเอียด
ห้องตัวอย่างที่นักออกแบบหนุ่มแนว “Green Design” จัดออกมาจะเห็นได้ว่าเป็นพื้นที่ใช้สอยที่สามารถใช้งานได้หลายฟังก์ชัน ตั้งแต่การพักผ่อน (เตียงใหญ่ริมหน้าต่าง) ทำงาน (โต๊ะไม้ Recycle ริมหน้าต่าง) รับประทานอาหาร (โต๊ะใหญ่ทำจากไม้ Recycle สุดโดดเด่น)
“ผมมองว่าถ้าเป็นไปได้ จะมีการผสมผสานระหว่างธรรมชาติกับการเป็นอยู่มากขึ้น ผมมองในส่วนของห้องครัวที่สามารถปลูกสวนเล็ก ๆ แต่เป็นสวนที่ใช้ได้ เช่นปลูกพริก สาระแหน่ ต้นหอม กระเพราต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อใช้ สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาผสมและตกแต่งห้องครัวได้ด้วย” อ.สิงห์ยกตัวอย่าง
“การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ” อีกอย่างหนึ่งคือการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ประกอบขึ้นจากเศษไม้ซึ่งถือเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า โดยเมื่อใส่ “ดีไซน์” ลงไปแล้ว เฟอร์นิเจอร์จากเศษไม้ก็ออกมางดงามไม่เบา ไม่ว่าจะเป็นตัวเล็กริมหน้าต่างหรือตัวใหญ่ ณ กลางห้องก็ตาม
“ผมเอาวัสดุที่หาได้ในประเทศไทยมาใช้ เอาของที่หาง่าย ๆ ของที่ดูแล้วไร้ค่า ถ้าผ่านการออกแบบ คนทั่วไปเห็นจะเกิดแรงบันดาลใจว่า เออ เราก็ทำได้ ผมอยากให้เห็นว่าของเหล่านี้ไม่ได้หรูหราอะไร แต่ทำให้ดูดีได้ ในการจัดวางหรือเมื่อผ่านกระบวนการออกแบบแล้ว” อ.สิงห์สรุป
แนวคิดของผศ.ดร.สิงห์ ดูเปี่ยมไปด้วย “อุดมการณ์” และ "ความมุ่งมั่น" ต้องการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณขยะของโลก บางทีเมื่อถึง 5 ปีข้างหน้าจริง ๆ เราอาจจะไม่มีพื้นที่สำหรับเก็บขยะเหลือใช้เหล่านี้ก็ได้ เพราะฉะนั้นการนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดคือการตอบสนองที่ดีที่สุดนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น